เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
คำว่า กล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท อธิบายว่า กล่าว คือ บอกวาทะของตน
ได้แก่ กล่าว พูด ชื่นชม พูดถึง แสดง เชิดชู ชี้แจง ยกย่องวาทะที่เอื้อต่อวาทะ
ตนในท่ามกลางขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท รวม
ความว่า กล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท
คำว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น อธิบายว่า
เขาย่อมเป็นผู้ยินดี ร่าเริง เบิกบาน มีใจแช่มชื่น มีความดำริบริบูรณ์ด้วยประโยชน์
แห่งความชนะนั้น อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้หัวเราะจนมองเห็นฟัน
คำว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น ได้แก่ เขา
ย่อมเป็นผู้ลำพองตน คือ ทะนงตน เชิดชูตนเป็นดุจธง เห่อเหิม ต้องการเชิดชูตน
เป็นดุจธง ด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น รวมความว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจ
ด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น
คำว่า เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว ได้แก่ เพราะได้บรรลุ
คือ ถึง ถึงเฉพาะ ประสบ ได้รับประโยชน์แห่งความชนะนั้น
คำว่า ตามที่ใจคิดไว้แล้ว ได้แก่ ตามที่ใจคิดไว้แล้ว คือ ได้เป็นอย่างที่คิด
ได้เป็นอย่างที่ดำริ ได้เป็นอย่างที่รู้แจ้ง รวมความว่า เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตาม
ที่ใจคิดไว้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท
ได้รับความสรรเสริญ เพราะทิฏฐิของตนนั้น
เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น
เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว
[65] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา
เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน
บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน
เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความหมดจด
ด้วยการวิวาทกันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :205 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
คำว่า ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา อธิบายว่า ความ
ลำพองตน คือ ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิต
ต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธง รวมความว่า ความลำพองตน
คำว่า ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา อธิบายว่า ความลำพองตน เป็นภูมิ
สำหรับย่ำยี คือ สำหรับตัดรอน สำหรับเบียดเบียน สำหรับบีบคั้น สำหรับก่อ
อันตราย สำหรับก่ออุปสรรคของเขา รวมความว่า ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิ
สำหรับย่ำยีของเขา
คำว่า เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน ได้แก่ บุคคลนั้นจึงกล่าวคำ
ถือตัวและกล่าวคำดูหมิ่น รวมความว่า เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน
คำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน อธิบายว่า เห็นแล้ว คือ แลเห็น
แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้
ในการทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การบาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกันเพราะ
ทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ รวมความว่า บุคคลเห็น
โทษนี้แล้ว
คำว่า ไม่ควรวิวาทกัน อธิบายว่า ไม่พึงก่อการทะเลาะกัน ไม่พึงก่อการ
บาดหมางกัน ไม่พึงก่อการแก่งแย่งกัน ไม่พึงก่อการวิวาทกัน ไม่พึงก่อการมุ่ง
ร้ายกัน ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะกัน
การบาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกัน คือ พึงเป็นผู้งด
งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทะเลาะกัน การ
บาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกันแล้ว มีใจเป็นอิสระ
(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความ
หมดจดด้วยการวิวาทกันนั้น อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดใน
อายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาด
ในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาด
ในผล ฉลาดในนิพพาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :206 }